ไม่แข็งตัว หลั่งเร็ว หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
มีปัญหาเกี่ยวกับอาการ หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, นกเขาไม่ขัน
"ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ"
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ Erectile Dysfunction (ED) ในผู้ชายคืออะไร?
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
หมายถึงการที่ไม่สามารถที่จะทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว หรือคงสภาพการแข็งตัว
ได้เป็นเวลานานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ตามปกติได้ หลั่งเร็ว ปวดเวลาหลั่ง
โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ
5 สาเหตุที่นำไปสู่ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในสุขภาพชาย?
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่ใช่ปัญหาแปลก
แต่เป็นเรื่องธรรมชาติของสุขภาพชายที่เมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือสูงอายุ (50-60 ปีขึ้นไป) ต้องพบเจอซึ่งสาเหตุเนื่องมาจาก
- โรคความดันโลหิตสูง
- หลอดเลือดหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- สูบบุหรี่จัด
- ไม่ออกกำลังกาย
สาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่อาการ “เสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย” ได้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต
ความวิตกกังวล โรคเครียด และซึมเศร้าได้
อาการอย่างไร ที่บ่งบอกว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ?
- อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวได้ตลอดเวลาขณะมีเพศสัมพันธ์
- อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่
- อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเลย
ความรุนแรงของ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แบ่งออกได้กี่ระดับ?
โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
- อาการน้อย คือ สามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จเกือบทุกครั้ง
- อาการปานกลาง คือ มีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จประมาณ ครึ่งหนึ่ง
- อาการรุนแรง คือ มีเพศสัมพันธุ์ไม่สำเร็จเลย
รักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้อย่างไร?
- ฮอร์โมนทดแทน
- ยาชนิดรับประทาน
- การสอดยาทางท่อปัสสาวะ
- ยาฉีดเข้าองคชาต
- รักษาด้วยอุปกรณ์ตัวช่วย กระบอกสุญญากาศ
- การผ่าตัดรักษา
- การผ่าตัดใส่แกน องคชาตเทียม
- การผ่าตัดเส้นเลือดแดงหรือดำที่มีปัญหา
- การให้คำปรึกษาเพื่อดูแลภาวะจิตใจควบคู่ไปกับการรักษาทางกาย
- การทำ Shock Wave
5 วิธีปฏิบัติตัวลดภาวะ โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่?
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลีกเลี่ยงอาหารหวานและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
- การควบคุมและรักษาภาวะไขมันคลอเลสเตอรอล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- การได้รับสารอาหารที่กรดอะมิโนอาจินีนสูง เช่น เนื้อแดง อาหารทะเล ถั่วเมล็ดแห้ง จะช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
- การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง หอยนางรม เนื้อ ไก่ ไข่ นม-ผลิตภัณฑ์นม
- สารอาหารในกลุ่ม flavanoid ที่พบได้ในสมุนไพรไทยเช่นกระชายดำ
Hi
ตอบลบ